กุนจิ
KARATSU กุนจิ

คาราซึ คุนจิ ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเวลานี้ เป็นเทศกาลใหญ่ประจำปีที่มีสีสันและน่าตื่นตาตื่นใจ เทศกาลเริ่มต้นด้วยแสงโคมที่สวยสดงดงามจากขบวนแห่ในคืนวันที่ 2 ..และจบลงอย่างน่าตื่นตาตื่นใจในวันที่ 4 .. ในช่วงเทศกาลเราจะได้ยินเสียงขลุ่ย เสียงกลอง และเสียงร้องอันพร้อมเพรียงกันว่า เอ็นยา! เอ็นยา! โยอิซะ! โยอิซะ!” ที่ดังก้องไปทั่วทั้งเมือง


คาราซึ คุนจิ มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 400 ปี เป็นเทศกาลทางวัฒนธรรมและเป็นมรดกที่สำคัญของชาติเทศกาลหนึ่ง ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอบคุณพระเจ้าที่คุ้มครองชาวเมืองให้สามารถจับสัตว์ทะเลได้ตลอดทั้งปีและช่วยให้พืชผลทางการเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ รถแห่ที่ใช้ในขบวนมีจำนวนทั้งหมด 14 คันแบ่งตามเขตทั้งหมด 14 เขต (“มาชิแปลว่าเขต) เรียกรวมกันว่า ฮิคิ-ยามะ ส่วนหัวของรถแห่เรียกว่า ยามะ ซึ่งยามะของแต่ละเขตจะมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป แต่ละหัวมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2-4 ตันและมีความสูงราว 6 เมตร ยามะทำโดยการนำดินมาปั้นขึ้นรูปก่อน จากนั้นก็ใช้กระดาษประมาณ 200 ใบค่อยๆติดทับลงไปแล้วจึงใช้ทองคำเปลวหรือกระดาษสีปิดทับลงไปอีกที การทำยามะแต่ละหัวต้องใช้เวลานานประมาณ 2-3 ปี ยามะทั้ง 14 หัวนี้ปรกติจะถูกจัดแสดงไว้ที่อาคารนิทรรศการฮิคิยามะซึ่งอยู่ติดกับศาสเจ้าคาราซึ สามารถเข้าชมได้ทั้งปียกเว้นช่วงเทศกาลฯ


ในช่วงเทศกาลจะมีการแห่รถทั้ง 14 ขบวนไปทั่วเมืองตามลำดับการก่อกำเนิดของยามะ
ขบวนแรก เริ่มต้นจากเขตคาตานะ (“คาตานะ-มาชิ”) ยามะของรถขบวนนี้เป็นหัวสิงโตสีแดงและถูกสร้างขึ้นเป็น
หัวแรกในปี .. 1819
ขบวนที่ 2 นากะ-มาชิ มียามะเป็นหัวสิงโตสีเขียว สร้างขึ้นในปี .. 1824
ขบวนที่ 3 ไซโมกุ-มาชิ มียามะเป็นอุระชิมะทาโร่อยู่ด้านบนของเต่าตัวใหญ่สร้างขึ้นในปี .. 1841 ในตอนแรกที่สร้าง
บนหลังเต่ามีลูกกลมตั้งอยู่ไม่ใช่อุระชิมะทาโร่เหมือนในปัจจุบัน ส่วนสาเหตุที่เปลี่ยนเนื่องจากอุระชิมะทาโร่
ถือเป็นตัวแทนของชาวประมง ตามตำนานเค้าได้ให้การช่วยเหลือเต่าที่ถูกรังแกจนได้รับรางวัลเป็นการได้ไป
เที่ยวชมวังมังกรริวงูโจ
ขบวนที่ 4 โกฟุกุ-มาชิ มียามะเป็นรูปทรงเครื่องสวมศรีษะยามออกรบของโยชิสึเนะ มินาโมะโตะนักรบผู้กล้าคนหนึ่ง
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และที่ทำเป็นรูปทรงนี้ก็เพราะว่าเขตโกฟุกุนี้เป็นแหล่งที่มีช่างทำเครื่องสวมศรีษะฯ
ฝีมือดีเป็นจำนวนมากนั่นเอง ยามะของเขตนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ... 1844
ขบวนที่ 5 อุโอยะ-มาชิ มียามะเป็นรูปปลาไทหรือปลากะพงที่ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1845 คนญี่ปุ่นถือว่าปลาไทหรือ
ปลากะพงเป็นปลามงคล แต่เหตุผลที่สร้างเป็นรูปปลาในครั้งแรกนั้นเพราะเขตนี้เป็นตลาดปลาที่สำคัญของคาราซึ ยามะนี้เคยไปปรากฏโฉมในงานคานิวาล เดอ นิส ที่ประเทศฝรั่งเศสมาแล้วเมื่อปี .. 1979 และได้ไปร่วมขบวนแห่ในเทศกาลปีใหม่ที่ประเทศฮ่องกงในปี .. 2012 อีกด้วย
ขบวนที่ 6 โออิชิ-มาชิ ยามะของเขตนี้ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1846 ว่ากันว่าเรือที่เป็นรูปนกฟินิกซ์กางปีกนั้นใช้เงินใน
การสร้างเทียบได้มากกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อปี .. 2012 จนทำให้ยามะของ
เขตนี้เป็น ยามะที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในจำนวนทั้งหมด 14 หัว
ขบวนที่ 7 ชิน-มาชิ สร้างขึ้นเป็นรูปมังกรบินเมื่อปี .. 1846 โดยถอดแบบมาจากภาพวาดบนบานประตูของวัด
นันเซนจิในจังหวัดเกียวโต มังกรบินเป็นหนึ่งในสัตว์สี่ชนิดที่คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้าแห่ง
ท้องทะเล ส่วนที่เหลืออีกสามชนิดได้แก่ กิเลน นกฟีนิกซ์ และเต่า
ขบวนที่ 8 ฮอม-มาชิ แม้ว่ายามะของเขตนี้จะเป็นรูปทรงหัวสิงโตเหมือนสองเขตแรก หากแต่เป็นสีทองและมีขนาดที่
ใหญ่กว่า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยไปร่วมสร้างสีสันบนถนนไวกิกิในงานเทศกาลที่ฮาวาย ฮอโนลูลูมาแล้ว โดยถูก
สร้างขึ้นในปี .. 1847
ขบวนที่ 9 คิวาตะ-มาชิ ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1864 เป็นแบบเครื่องสวมศรีษะนักรบของชินเง็น ทาเคดะอีกหนึ่ง
นักรบในตำนานของญี่ปุ่น ส่วนขนที่ใช้ประดับยามะนี้เป็นขนของวัวป่าฮิมาลายัน
ขบวนที่ 10 ฮิราโนะ-มาชิ ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1869 เป็นแบบเครื่องสวมศรีษะนักรบของเคนชิน อุเอซุกิซึ่งเป็น
นักรบที่โด่งดังในช่วงเดียวกันกับชินเง็น ทาเคดะยามะของเขตคิวาตะ
ขบวนที่ 11 โคเมะยะ-มาชิ มียามะเป็นรูปทรงหน้ากากซามูไรของไรโกะ มินาโตะถูกสร้างขึ้นในปี .. 1869
ขบวนที่ 12 เคียว-มาชิ มียามะรูปทรงหัวสิงโตสีเขียว ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1875
ขบวนที่ 13 คาโคะ-มาชิ มียามะรูปทรงปลาหัวเสือสีแดง ถูกสร้างขึ้นในปี .. 1876
ขบวนสุดท้าย เอกาวะ-มาชิ มียามะเป็นรูปทรงเรือที่มีหัวเป็นมังกร ถูกสร้างขึ้นมาหลังสุดในปี .. 1876


ขบวนแห่แต่ละขบวนประกอบไปด้วยรถแห่และคนลากมากกว่า 100 คน บนรถแห่แต่ละคันจะมีคนโบกธง เด็ก คนเป่าขลุ่ย และคนตีกลองนั่งอยู่ด้วย เครื่องดนตรีจะถูกบรรเลงไปโดยไม่มีการหยุด คนลากจะลากไปตามจังหวะของดนตรีพร้อมกับร้องตะโกนว่า เอ็นยา! เอ็นยา! โยอิซะ! โยอิซะ!” โดยพร้อมเพรียงกันแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยไปตลอดเส้นทาง ผู้คนสามารถชมงานได้จากริมถนนโดยขบวนจะมีการโปรยเกลือในขณะแห่รถด้วยเพราะเชื่อกันว่าจะช่วยทำให้เส้นทางที่จะลากรถไปนั้นสะอาดบริสุทธิ์



วันแรก (2 ..)
“Yoiyama” ขบวนแห่จะออกจากเขตของตนและนำรถเข็นลากไปรวมกันที่ศาลเจ้าคาราซึตั้งแต่เวลา 19:30 จากนั้นจะลากรถแห่ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ (เช็คเวลาและเส้นทางขบวนแห่ได้ที่ http://www.karatsukankou.jp/feature/karatsukunchi/ )


วันที่สอง (3 ..)
“Otabisho Shinko” เป็นเวลาที่ยามะจะถูกลากไปยังผืนทรายบริเวณชายหาดนิชิโนะฮามะ ด้วยน้ำหนักเฉลี่ย 2-4 ตันการลากยามะไปทั่วเมืองบนพื้นถนนนั้นถือว่าทำได้ยากแล้วหากการลากไปบนผืนทรายยิ่งยากกว่าเพราะต้องใช้แรงและความสามัคคีอย่างมากจึงไม่ควรพลาดชมจุดนี้ (เราสามารถถ่ายรูปยามะ 14 คันที่ถูกลากมาวางเรียงกันได้ที่นี่ด้วย)


วันที่สาม (4 ..)
วันสุดท้ายของเทศกาล ขบวนแห่จะถูกลากไปรอบเมืองอีกครั้งโดยมีจุดหมายปลายทางที่อาคารนิทรรศการฮิคิยามะ


ในช่วงเวลาสามวันนี้ถนนรอบเมืองจะเต็มไปด้วยร้านค้าและแผงขายของ มีทั้งไก่ทอดคาราอาเกะ ทาโกยากิ ยากิโซบะ หมูปิ้ง แตงกวาเสียบไม้ กล้วยหอมเคลือบช็อกโกแล็ต สาเก เบียร์ เครื่องดื่ม ขนม และของกินเล่นอีกมากมาย เราจะเห็นคนแต่งชุดสำหรับแห่รถเดินกันขวักไขว่ซึ่งคนของแต่ละเขตแต่ละขบวนก้อจะะแต่งตัวต่างกันออกไป จะมีทั้งชาวเมืองและนักท่องเที่ยวไปไหว้พระขอพรที่ศาลเจ้าคาราซึมากมาย และที่ศาลเจ้าคาราซึนี้เองเป็นจุดที่เริ่มและจบขบวนแห่ในแต่ละวันจึงทำให้บริเวณนี้เป็นจุดที่มีคนเยอะและคึกคักมากที่สุด


คนที่อาศัยอยู่ในเขตที่มียามะจะจัดงานเลี้ยงที่บ้านเพื่อร่วมฉลองกับเพื่อนฝูงญาติมิตรของพวกเค้า ถ้าหากคุณรู้จักคนเหล่านี้คุณก็อาจได้รับเชิญให้ไปร่วมฉลองด้วย หลายๆบ้านเก็บเงินเดือนของพวกเค้าถึงสองเดือนเพื่อใช้ในงานฉลองครั้งนี้ ผู้คนจะใช้ช่วงเวลานี้พูดคุย หัวเราะ กิน ดื่มกันอย่างเต็มที่ คนญี่ปุ่นที่ต้องไปทำงานไกลๆหรือย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นมักจะกลับไปบ้านเกิดในช่วงหน้าร้อนเพื่อเยี่ยมญาติพี่น้องและกราบไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แต่สำหรับคนคาราซึพวกเค้าเลือกที่จะกลับบ้านในช่วงเวลานี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลประจำปีที่ว่ามา


คุณสามารถนั่งรถไฟจากฟุกุโอกะมาคาราซึโดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงกว่า หรือถ้าขับรถก้อใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ถ้าหากคุณมีโอกาสมาฟุกุโอกะหรือคิวชูในช่วงเวลานี้ เราไม่อยากให้คุณพลาดงานเทศกาลดีๆแบบนี้เลย



ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
https://en.wikipedia.org/wiki/Karatsu_Kunchi
https://en.japantravel.com/saga/karatsu-kunchi-festival/32010 http://jpninfo.com/66718
https://www.jnto.go.jp/eng/spot/festival/karatsukunchi.html


Stacks Image 9